วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


ประวัติโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์

ความเป็นมา
        เปิดครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2472 โดยเป็นสาขาหนึ่งของโรงเรียนประจำจังหวัดชาย โดยมีนายฮั้ว  เวชวงษ์  เป็นรักษาการณ์แทนครูใหญ่
        พ.ศ.2472 ( ปลายปี ) กระทรวงธรรมการแต่งตั้ง ม.ล.เชื้อ  พรหมเดช  ดำรงตำแหน่งเป็นครูใหญ่ จนถึงปี พ.ศ.2503  โดยอาศัยเรียนบนชั้นสองของตึกสโมสรข้าราชการจังหวัดกาญจบุรีหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง (ปัจจุบันคือ สวน ร.3 ) 
        พ.ศ.2480 โรงเรียนได้งบประมาณสร้างอาคารไม้ 1 หลัง 8 ห้องเรียน และบ้านพักครู 2 หลัง บนที่ดินราชพัสดุ ประมาณ 3 ไร่ 2 งาน  ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารเรียนหลัง 1 และ 2 ในอดีต
        พ.ศ.2503 ม.ล.เชื้อ  พรหมเดช เกษียณอายุราชการ  นางเปี่ยมศรี  จุลกาญจน์  ดำรงตำแหน่งครูใหญ่สืบต่อมาได้ของบประมาณซ่อมแซมอาคารไม้ 8 ห้องเรียน เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ เสร็จ ใช้การได้เมื่อ พ.ศ.2506
        พ.ศ.2507 นางเปี่ยมศรี  จุลกาญจน์ ลาออกจากกรมสามัญศึกษา
        พ.ศ.2507 - 2534 นางลำใย  สิริเวชชะพันธ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง  ครูใหญ่ – ผู้อำนวยการโรงเรียนระดับ  9
        พ.ศ.2509 พลเอกประเสริฐ  ธรรมศิริ ได้มอบหมายให้กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ พัฒนาปรับปรุงพื้นที่ลุ่มของโรงเรียนเพื่อให้ได้พื้นที่ใช้ประโยชน์ได้มากอีก 3 ไร่ 2 งาน รวมเป็นพื้นที่ตั้งโรงเรียนจำนวน 7 ไร่
        พ.ศ.2511 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างหอประชุม 1 หลังจากเงินงบประมาณ 150,000 บาท  และประชาชนร่วมบริจาคอีก 160,000 บาท และได้รับเงิน งบประมาณต่อเติมอาคารเรียนครึ่งตึกครึ่งไม้ออกไปอีก 6 ห้องเรียน
        พ.ศ.2514 โรงเรียนได้ขอที่ดินราชพัสดุ ซึ่งเป็นที่ตั้งเรือนจำจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อขยายพื้นที่ได้อีก 10 ไร่
        พ.ศ.2517 นายนิเวศน์ - นางสำเภา  จงเจริญ ได้บริจาคที่ดินเพื่อสร้างบ้านพักครู จำนวน 2 ไร่ 2 งาน  ปัจจุบันโรงเรียนมีที่ดิน   2 แปลง รวม 20 ไร่ 2 งาน 6.1 ตารางวา
        พ.ศ.2518 โรงเรียนเข้าอยู่ในโครงการโรงเรียน คมภ.รุ่น 2
        พ.ศ.2520 โรงเรียนเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 2 ห้องเรียน
        พ.ศ. 2523 โรงเรียนเปลี่ยนชื่อจาก “โรงเรียนสตรีกาญจนานุเคราะห์” มาเป็น                                                  “ โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ”
        พ.ศ. 2528  โรงเรียนเข้าโครงการโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรและผ่านการประเมินตามเกณฑ์ เมื่อ พ.ศ.2529  และในปีเดียวกันนี้ โรงเรียนได้เป็นศูนย์โสตทัศนศึกษา กลุ่ม 1 กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 5  จังหวัดกาญจนบุรี
        พ.ศ.2530 - สร้างพระพุทธรูปประจำโรงเรียน “ พระพุทธชินราช  ”
        พ.ศ.2532 - โรงเรียนเป็นศูนย์ AFS เขตกาญจนบุรี
                     - เป็นแม่แบบการแนะแนวโรงเรียนตัวอย่างการจัดกิจกรรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอาชีพ
                     - เป็นโรงเรียนนำร่องโครงการป้องกันโรคเอดส์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา
        พ.ศ.2533 - โรงเรียนเข้าร่วมโครงการการพัฒนาการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษา
                     - โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 324 ล. จำนวน 1 หลัง  ( อาคาร 5 )    โดยรื้ออาคารเรียน 1 และ 2 เป็นสถานที่ก่อสร้าง
        พ.ศ.2534 – 2536  นางสาวขันธ์เยาว์  เทหะมาศ  ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
        พ.ศ.2535 - 2536  โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น จำนวน  1 หลัง
        พ.ศ.2536 - นางสาวจงกล  ทรัพย์สมบูรณ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนจนถึงปี 2542
                     - โรงเรียนเป็นศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเครือข่ายศูนย์เอกสารวิชาชีพครู
        พ.ศ.2537 - โรงเรียนเป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรม กรมสามัญศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี
                     - โรงเรียนเปิดสอนโครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในการเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ( สพพ.) ใช้เวลาเรียน 2 ปี ( จนถึงปีการศึกษา 2541 )
        พ.ศ.2538 - เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ จังหวัดกาญจนบุรี
                     - เป็นศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาคหกรรม จังหวัดกาญจนบุรี
                     -  เข้าโครงการต่อเนื่องการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และโครงการถ่ายทอดเติมความรู้มุ่งสู่มหาวิทยาลัย ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
                     -  ดำเนินการสร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9  เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ( สร้างเสร็จ ปี 2539 )
        พ.ศ.2539 - สถานศึกษาที่ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมขนาดใหญ่
                     -  ชนะเลิศ เขตการศึกษา 5 โครงการรณรงค์และรักษาสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา โดยกรมสามัญศึกษา ร่วมสมาคมเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมกลุ่มบริษัท เอส เอส ยู   พี  (ไวซรอย)
                     - ร่วมโครงการห้องสมุดกาญจนาภิเษก
                     - โรงเรียนได้รับพระราชทานวงดนตรีกาญจนาภิเษก ( วงอังกะลุง ) จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครองสิริราชสมบัติครบ  50 ปี และได้รับความร่วมมือจาก ชุมชนในการทำ ห้องคอมพิวเตอร์  1 ห้องเรียน
(20 เครื่อง )
        พ.ศ.2540 - โรงเรียนเข้าร่วมโครงการปฏิรูปการศึกษา
                     - ได้รับรางวัลโรงเรียนที่มีผลงานดีเด่นด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ของ จังหวัดกาญจนบุรี
                     - ได้รับเกียรติบัตร โรงอาหารมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ระดับดีมาก ของกรมอนามัย
        พ.ศ.2541 - ได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่นด้านความสะอาด “โครงการโรงเรียนสะอาด”    ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ โดยสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี
                     - ดำเนินการก่อสร้าง ศาลา ญสส. เป็นศาลทรงไทย จำนวน 9 หลัง เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในวาระพระชนมายุครบ  84  พรรษา( เสร็จสิ้นและทำพิธีเปิด 14  กุมภาพันธ์  2542 )
        พ.ศ.2542 - เข้าร่วมโครงการส่งเสริมทัศนคติ (โครงการห้องเรียนสีเขียว) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
                     -  ปรับปรุงอาคารปฏิบัติงานวิชาไฟฟ้าเป็นห้องประชุมมัลติมิเดีย ( Multimedia ) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ห้องประชุม
กาญจนิกา
                     -  เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พลังงานอาคารของรัฐ  ของสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน  กรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน   กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
                     - ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีเป็นโรงเรียนแกนนำในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา จ.กาญจนบุรี  ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
                     - ได้รับรางวัลที่ 3 ด้านความสะอาด " โครงการโรงเรียนสะอาด " โดยสำนักงานสามัญศึกษา   จังหวัดกาญจนบุรี
                     -  นายบุญส่ง  ล้อประกานต์สิทธิ์  เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ( 29 ธ.ค.42 )    จนถึง 30 กันยายน 2547    ( ผู้อำนวยการระดับ 9)
                     - ได้รับรางวัล โรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพดีเด่น ( ขนาดใหญ่ ) เขตการศึกษา 5
        พ.ศ. 2543 - โรงเรียนได้รับการประเมินคุณภาพภายในโรงเรียนโดยคณะกรรมการประเมินคุณภาพ จังหวัดกาญจนบุรี  ตามโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนสังกัด กรมสามัญศึกษา
                      - ได้รับรางวัล สถาบันส่งเสริมกิจกรรมพระพุทธศาสนาดีเด่น จากคณะสงฆ์ จังหวัดกาญจนบุรี
                      -  สถานศึกษาส่งเสริมจริยศึกษาดีเด่น จังหวัดกาญจนบุรี  ของกรมการศาสนา
                      - รางวัลโรงเรียนดีเด่นด้านความสะอาด " โครงการโรงเรียนสะอาด” ประเภท   โรงเรียนขนาดใหญ่  โดยสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี
         พ.ศ.2544 - โรงเรียนได้ดำเนินการปรับปรุงโรงอาหารใหม่  รั้วคอนกรีตรอบ โรงเรียน  ซุ้มและสวนหย่อมหน้าอาคาร 3    ห้องรับประทานอาหารว่าง บริเวณห้องมัลติมีเดีย  จัดทำป้ายหน้าโรงเรียนใหม่  และอินเตอร์เนตของโรงเรียน
        พ.ศ.2545  - โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่อง ในการจัดหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2544  และได้ดำเนินจัดทำโครงการหลังคากันแสงคลุมสนามบาสเกตบอล      ทางเท้าป้องกันน้ำท่วม ข้างหอประชุมโครงหลังคากันแสงที่จอดรถจักรยานยนต์นักเรียน ห้องเรียนกลางแจ้ง (วิชาเกษตรกรรม)  และการปรับปรุงอาคารชั่วคราวเป็นห้องเรียนศิลปศึกษา 
        พ.ศ.2546  - ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา  ระหว่างวันที่  16 - 18  มิถุนายน 2546 โดยผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ระดับดี 13  มาตรฐานระดับพอใช้  1 มาตรฐาน
                      - ปรับปรุงอาคารเรียนชั่วคราวให้เป็นห้องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 ห้องเรียน ทาสีรั้วโรงเรียน จัดทำห้องเรียน  e-learning  สำหรับนักเรียน English Program  2 ห้องเรียน จัดสร้างห้องน้ำศิลากาญจน์
                      - โรงเรียนเปิดสอนโครงการ  Mimi English Program
                      -  เข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้เพื่อการศึกษา (ToPSTAR)
                      -  เข้าร่วมโครงการสานสายใยครูและศิษย์
                      -  เข้าร่วมโครงการวิถีพุทธ
        พ.ศ.2547  -  ขยายต่อเติมอาคารห้องสมุด  และสร้างอาคารพยาบาล
                      -  เข้าร่วมโครงการต้นแบบโรงเรียนมาตรฐานระบบการต้านยาเสพติด เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี 48 พรรษา
                      - นายจักรกฤษ  แย้มสรวล เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน (18 ต.ค 47) จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนได้มีการพัฒนาปรับปรุงอาคารสถานที่ ทำสวนหย่อมข้างกำแพงเมือง ปูกระเบื้องพื้นห้องเรียนอาคาร 3 อาคาร 4 และ อาคาร 5  จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ไฟวิ่ง   ป้ายชื่อโรงเรียน  ปรับปรุงห้องน้ำนักเรียนหญิงปรับปรุงหลังคาหอประชุม
        พ.ศ.2548 - จัดทำห้องแนะแนว และเวทีใต้อาคาร 5 ปรับปรุงห้องสำนักงานของฝ่ายต่าง ๆ  ทาสีอาคารเรียน ก่อสร้างเสาธง ปรับปรุงอาคารปฏิบัติงานวิชาคหกรรมเป็นห้องเรียนคอมพิวเตอร์ 2 ห้อง ปรับอาคารปฏิบัติการอุตสาหกรรมเป็นห้องคหกรรม และห้องเรียนวิชาไฟฟ้า   ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ 10  ห้องเรียน ปรับปรุงหลังหอประชุมเป็นห้องพักครูเวร   ปรับปรุงห้องศูนย์ภาษาไทย(426)  ปรับปรุงห้องโสตทัศนศึกษา(521) ห้องศูนย์คณิตศาสตร์(528) ห้องศูนย์ภาษาต่างประเทศ (435) ห้องวิทยาศาสตร์ (328) เป็นห้องเรียนไฮเทค (ห้อง e-learning)   การปรับปรุงถนนหลังอาคาร 3 เพื่อเป็นสถานที่จอดรถของคณะครู
                     - โรงเรียนได้รับการคัดเลือกร่วมโครงการ “TOT IT SCHOOL” ของบริษัททีโอทีจำกัด (มหาชน) โดยมีการทำพิธีส่งมอบห้องเรียนในโครงการฯ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม  2548
        พ.ศ.2549 -ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ   การศึกษา (สมศ.) ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 12-14  กรกาคม 2549  โดยผลการประเมินทั้ง 14   มาตรฐาน  มีระดับคุณภาพ ดีมาก ทุกมาตรฐาน
                     - ปรับปรุงถนนโดยทำการราดยางบริเวณด้านหน้าบ้านพักครูและใต้ต้นโพธิ์ หน้าอาคาร 3  ปรับปรุงอาคารชั่วคราว หลังอาคาร 3 จำนวน 3 ห้องให้เป็นห้องเรียนและห้องประชุมอเนกประสงค์  สร้างสำนักงานลูกจ้างประจำเพื่อใช้เป็นโรงซ่อมบำรุง   อาคารสหกรณ์โรงเรียน ด้านหลังอาคาร 5  ปรับปรุง หอประชุมเนื่องในวาระฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี ให้มีขนาดกว้างขึ้นและติดตั้งเครื่องปรับอากาศ จัดทำสวนน้ำด้านหลังตึกคหกรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้  จัดทำและปรับปรุงห้องเรียนไฮเทคเพิ่มเติมเพื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย โดยมีการจัดทำเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 25 ห้องเรียนและห้องควบคุม 1 ห้อง   และมีห้องเรียนเรียติดตั้งเครื่องปรับอากาศจำนวน 37 ห้องเรียน และกำลังดำเนินการต่อไปเพื่อให้ครบทุกห้อง
        พ.ศ. 2550  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  อนุมัติแผนการจัดชั้นเรียนเป็น 14-13-13 / 12-11-9  รวม   72  ห้องเรียน ปัจจุบัน โรงเรียนมีที่ดิน 2 แปลง รวม 20 ไร่ 2 งาน 6.1 ตารางวา   มีอาคารเรียน 3 หลัง  โรงอาหาร 1 หลัง  หอประชุม 1 หลัง  โรงฝึกงาน  3  หลัง   ห้องประชุมกาญจนิกา  ห้องเรียนสีเขียว บ้านพักครู 14  หลัง   บ้านพักภารโรง 3 หลัง 16 หน่วย   ห้องน้ำห้องส้วม   5  หลัง   เรือนเพาะชำ 1 หลัง   อาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น 1 หลัง   เรือนกัลปพฤกษ์ 1 หลัง   ศาลาเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 - 1 หน่วย รวม 11 หลัง   ศาลา ญสส.  1  หน่วย รวม 9 หลัง  อาคารพยาบาล อาคารสหกรณ์ อาคารซ่อมบำรุง
  •  







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น